บทที่ 5 สรุปผลการศึกษา


บทที่ 5 สรุปผลการศึกษา

            ชื่อประเด็น เรื่องการศึกษาคุณภาพของถ่านจากวัสดุธรรมชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาคุณภาพของถ่านจากไม้หลายๆชนิดว่าถ่านชนิดไหนให้ความร้อนได้ดีกว่าสามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้
สรุปผลการศึกษา
            1.ถ่านไม้แดงใช้เวลาน้อยกว่าถ่านไม้คูณและถ่านไม้มะม่วงตามลำดับ                       
2.ถ่านไม้แดงให้ความร้อนได้ดีกว่าถ่านไม้คูณ และถ่านไม้มะม่วง ตามลำดับ
ปัญหา/อุปสรรค/ข้อเสนอแนะ
ชื่อประเด็น เรื่องการศึกษาคุณภาพของถ่านจากวัสดุธรรมชาติมีปัญหา อุปสรรค์และข้อเสนอแนะดังนี้
            1.ในขณะที่ทำการทดลองมีฝนตกลงมา ทำให้ถ่านที่จะใช้ในการทดลองเปียก
                        1.)นำถ่านที่เปียกไปตากแดดให้แห้งแล้วค่อยทำการทดลอง
            2.เตาถ่านที่ใช้มีขนาดใหญ่  แต่หม้อมีขนาดเล็กเกินไป
                        2.)นำตะแกรงมาพาดไว้เพื่อที่จะให้ตั้งหม้อได้
            3.ภาพที่ถ่ายมาไม่ชัดเจน
                        3.)เปลี่ยนเครื่องมือที่ใช้ในการถ่ายภาพเป็นกล้องที่มีคุณภาพดี

บทที่ 4 ผลการศึกษา


บทที่ 4  ผลการศึกษา
            ชื่อประเด็น เรื่องการศึกษาคุณภาพของถ่านจากวัสดุธรรมชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาคุณภาพของถ่านจากไม้หลายๆชนิด ว่าถ่านชนิดไหนให้ความร้อนได้ดีกว่ามีผลการศึกษา ดังนี้
            วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้
            เตาถ่าน , หม้อ , ตะแกรง,ถ่านไม้คูณ,ถ่านไม้แดง,ถ่านไม้มะม่วง,เทอร์โมมิเตอร์,
น้ำเปล่า,ถ้วยตวง
     1.ผลการศึกษาคุณภาพของถ่านไม้มีผลการศึกษาดังนี้
ถ่านไม้แดงให้ความร้อนได้ดีกว่าถ่านไม้คูณ และถ่านไม้มะม่วง เนื่องจากถ่านไม้แดงมีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการนำมาทำเป็นถ่านและฟืน มีกิ่งก้านเยอะ และที่สำคัญเป็นไม้ที่ให้ความร้อนสูงจึงทำให้มีประสิทธิ์ภาพในการนำมาใช้งาน

ชนิดของถ่านไม้
ระยะเวลาที่น้ำมีอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส(นาที)
ไม้มะม่วง
5.49
ไม้แดง
3.02
ไม้คูณ
3.39

     2.จากการทดลองข้างต้นเราได้ผลการทดลองว่าถ่านไม้แดงให้ปริมาณความร้อนที่มากกว่าถ่านไม้ชนิดและรองลงมาก็เป็นถ่านไม้คูณซึ่งให้ปริมาณเปลวไฟที่ใกล้เคียงกัน สุดท้ายก็เป็นถ่านไม้มะม่วงซึ่งให้ปริมาณเปลวไฟที่น้อยและอ่อนกว่าถ่านไม้ชนิดอื่นและระหว่างการทดลองยังสังเกตเห็นว่าถ่านไม้มะม่วงมีปริมาณขี้เถ้ามากกว่าชนิดอื่นๆ

บทที่3 วิธีการศึกษา


บทที่3 วิธีการศึกษา
            ชื่อประเด็น เรื่องการศึกษาคุณภาพของถ่านจากวัสดุธรรมชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาคุณภาพของถ่านจากไม้หลายๆชนิด ว่าถ่านชนิดไหนให้ความร้อนได้ดีกว่ากัน คณะผู้รายงานกำหนดขั้นตอน/วิธีการศึกษาไว้ ดังนี้
            วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้
            เตาถ่าน , หม้อ , ตะแกรง,ถ่านไม้คูณ,ถ่านไม้แดง,ถ่านไม้มะม่วง,เทอร์โมมิเตอร์,
น้ำเปล่า,ถ้วยตวง
วิธีการ/ขั้นตอนการศึกษา
1.            ขั้นเตรียม
          1.1 เตรียมอุปกรณ์เตาถ่าน , หม้อ, ตะแกรง, ถ่านไม้คูณ, ถ่านไม้แดง, ถ่านไม้มะม่วง, เทอร์โมมิเตอร์, น้ำเปล่า, ถ้วยตวง และอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อไฟ
2.            ขั้นดำเนินการ
          2.1 ทำการก่อไฟในเตาถ่านด้วยถ่านที่เตรียมเอาไว้ โดยกำหนดให้ถ่านที่ใช้มีปริมาณเท่ากันคือ 0.3 กิโลกรัม จากนั้นรอให้ถ่านติดไฟเต็มที่แล้วจึงนำหม้อที่เตรียมไว้แล้วใส่น้ำให้มีปริมาตรเท่ากันคือ 500 มิลลิลิตรแต่เนื่องจากเตาถ่านมีขนาดใหญ่ แต่หม้อที่ใช้มีขนาดเล็ก จึงต้องใช้ตะแกรงมาวางพาดไว้ แล้วจึงค่อยนำหม้อที่ใส่น้ำแล้ว 500 มิลลิลิตรมาวางไว้บนตะแกรง และเริ่มจับเวลาทันทีที่เริ่มจับเวลาหลังจากนั้นก็นำเทอร์โมมิเตอร์จุ่มลงไปในน้ำ เพื่อวัดอุณหภูมิ  รอให้อุณหภูมิของน้ำถึงจุดเดือด 100 องศาเซลเซียส  แล้วดูว่าเวลาผ่านไปเท่าไรน้ำจึงมีอุณหภูมิถึง 100 องศาเซลเซียสและทำการจดบันทึกผลการทดลองเอาไว้ จากนั้นจึงเริ่มทำการทดลองใหม่อีกครั้งแต่เปลี่ยนชนิดของถ่านไปจนครบทั้งหมดที่เตรียมไว้
3.            ขั้นสรุปและรายงานผล
          3.1 จากการทดลองพบว่าถ่านไม้แดงให้ความร้อนได้ดีกว่าถ่านไม้คูณ และถ่านไม้มะม่วงตามลำดับ เพราะถ่านไม้แดงมีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการนำมาทำเป็นถ่านและฟืน มีกิ่งก้านเยอะ และที่สำคัญเป็นไม้ที่ให้ความร้อนสูงจึงทำให้มีประสิทธิ์ภาพในการนำมาใช้งาน

บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง


บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
            การศึกษาเรื่องคุณภาพของถ่านจากวัสดุธรรมชาติมีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาคุณภาพของถ่านจากไม้หลายๆชนิด ว่าถ่านชนิดไหนให้ความร้อนได้ดีกว่าผู้ศึกษาได้ทำการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ดังมีหัวข้อต่อไปนี้
            1.ลักษณะของถ่าน
            2.ความสำคัญของถ่าน
            3.วิธีการศึกษาเพื่อให้ทราบว่าถ่านชนิดใดให้ความร้อนได้ดีกว่า
            1.ลักษณะของถ่านไม้
ถ่านไม้มีลักษณะเป็นก้อนสีดำหรือน้ำตาลเข้มและมีรูพรุนเล็กๆอยู่ด้านในมีคุณสมบัติในการดูดซับกลิ่นอับได้ดีให้ปริมาณความร้อนมากแต่มีควันน้อยหรือไม่มีเลยเนื่องจากถ่านนั้นได้ผ่านกรรมวิธีการกำจัดสันดาปเพื่อให้น้ำหรือน้ำมันที่อยู่ภายในระเหยออกไปจนเหลือแต่ของแข็งหรือที่เราเห็นเป็นถ่านอยู่ทั่วไป
            2.ความสำคัญของถ่าน
ถ่านเป็นวัสดุที่ถูกนำมาใช้ภายในครัวเรือนของคนไทยมาเป็นเวลานานแล้วและไม่ใช่แต่เพียงประเทศไทยเท่านั้นที่มีการนำถ่านมาใช้ประโยชน์ ในต่างประเทศเองก็มาการนำถ่านมาใช้ประโยชน์เช่นกัน โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียของเราเช่นประจีน เกาหลี และญี่ปุ่นที่มีเทคโนโลยีการผลิตถ่านไม้อย่างล้ำหน้าโดยผลิตถ่านขาวเพื่อใช้ถ่านขาวในเชิงสุขภาพ จะเห็นได้ว่าถ่านเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และควรศึกษาให้เข้าใจถึงคุณภาพและประโยชน์อย่างแท้จริง

บทที่ 1 บทนำ


บทที่  1 บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
            ถ่านเป็นวัสดุที่มีอยู่คู่ครัวไทยมาอย่างช้านานและเป็นวัสดุที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าทุกวันนี้พื้นที่ในเมืองใหญ่จะไม่ค่อยมีการใช้ถ่านมาเป็นเชื้อเพลิงแล้วก็ตามแต่ก็ยังมีในหลายพื้นที่ที่ยังคงวัฒนธรรมดั้งเดิมในการใช้ถ่านเป็นเชื้อเพลิงเอาไว้เช่น ในการทำขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้ถ่านมาเป็นเชื้อเพลิงเพื่อที่จะให้ได้รสสัมผัสที่เป็นธรรมชาติและคงความเป็นไทยไว้เช่นเดิม เป็นต้น ดังนั้นการเลือกใช้ถ่านที่เหมาะสมกับประเภทของงานก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยลดภาวะโลกร้อนได้
            ถ่านมีลักษณะเป็นท่อนไม้หรือกิ่งไม้ที่นำมาผ่านกรรมวิธีไล่ความชื้นออกจนกลายเป็นสีดำภายในจะมีโพรงอากาศเล็กๆเป็นจำนวนมากช่วยในการดูดซับกลิ่นหรือสิ่งสกปรกได้ดีแต่กว่าที่จะได้ถ่านที่ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพนั้นเราจะต้องหาวัสดุต้นกำเนิดที่เหมาะสมเสียก่อนเพื่อที่จะได้เป็นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยไม่สูญเปล่าและไม้ที่นำมาใช้เผาเป็นถ่านนั้นส่วนใหญ่ที่นำมาใช้ก็มักจะเป็นไม้ที่หาได้ทั่วๆไปในท้องถิ่นเช่น กิ่งไม้ที่ถูกลมพายุพัดหักโค่นลงหรือต้นไม่ที่ถูกโค่นแทนที่จะทำการเผาทำลายไปในคราวเดียวก็มีหลายคนนำไปเผาเป็นถ่านเก็บไว้ใช้ในครัวเรือนเนื่องจากถ่านที่ได้มานั้นเวลาติดไฟจะมีควันน้อยกว่าฟืนหรือกิ่งไม้สด ถึงแม้ว่าถ่านไม้จะเป็นวัสดุธรรมชาติแต่ก็ยังมีถ่านจากไม้บางชนิดที่ไม่ควรนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการประกอบอาหาร เช่น ไม้ยูคาลิปตัสเนื่องจากไม้ยูคาลิปตัสนั้นมีควันที่เป็นพิษจึงไม่เหมาะเพราะอาจทำให้ควันพิษเหล่านั้นเข้าไปในอาหารที่เราปรุงและเมื่อรับทานเข้าไปอาจทำให้เกิดอันตรายกับร่างกายขึ้นมาได้
            ไม้ที่เราต้องการศึกษาได้แก่ ไม้แดงจัดเป็นไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและมีการนำมาใช้งานกันอย่างกว้างขวางในประเทศไทย ทั้งนี้เนื่องจากไม้แดงเป็นไม้ที่มีความทนทานสูงมาก สามารถทนทานต่อแรงกระแทกได้ดี ทำให้สามารถนำไปใช้งานกลางแจ้งได้ แต่ส่วนมากจะนิยมนำไม้แดงไปใช้ในการก่อสร้าง เป็นโครงสร้างของอาคารบ้านเรือน พื้นไม้แดง เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆโดยเฉพาะเครื่องมือทางการเกษตร และทำเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังนำไม้แดงไปใช้ในการทำปาร์เก้ ซึ่งก็ได้รับความนิยมในการใช้งานมากรองลงมาจากปาร์เก้ไม้สัก ในส่วนของการนำไม้แดงจากธรรมชาติมาใช้งานนั้น ไม้แดงจะพบได้ตามป่าเบญจพรรณในภาคกลาง ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ยังมีการปลูกป่าไม้แดงในเชิงเศรษฐกิจและมีการนำเข้าไม้แดงแปรรูปจากต่างประเทศมาใช้ส่วนหนึ่งด้วย เนื่องจากความต้องการไม้แดงในการใช้งานมีอยู่ค่อนข้างสูง ไม้แดงจัดได้ว่าเป็นไม้ที่มีประโยชน์ทั้งในส่วนของไม้ที่ถูกตัดออกมาใช้งานและส่วนที่เป็นไม้ยืนต้นอยู่ เพราะไม้แดงจะช่วยในการปรับปรุงสภาพแวดล้อม ช่วยลดการพังทลายของหน้าดิน ส่วนเมล็ดไม้แดงก็สามารถนำไปบริโภคได้ด้วยเช่นกัน(ที่มา:http://www.thaiwoodcentral.com/blog)
            มะม่วงมีลักษณะ เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ ลำต้น เปลาตรง เปลือกสีน้ำตาลหรือน้ำตาลดำ ถ้าสับเปลือก มียางใส ๆ ซึมออกมา ยางเมื่อถูกอากาศนาน ๆ จะเปลี่ยนเป็นสีดำ ยางนี้จะกัดผิวหนัง ใบดกหนาทึบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ใบ เดี่ยว รูปใบขอบขนานแกมรูปหอก ยาว เนื้อใบหนาเหนียวเป็นมัน ดอก ช่อดอกย่อยสีเหลืองอ่อน ๆ ขนาดเล็กมาก รวมกันอยู่เป็นช่อใหญ่ออกที่ปลายกิ่ง ในช่อจะมีดอกทั้งเพศผู้และเพศเมียปะปนกันอยู่ เกสรตัวผู้มี 5 อัน ผล กลมหรือรี มีเนื้อมาก มีเมล็ด 1 เมล็ด ผลสุกเนื้อจะนิ่ม มีสีเหลืองถึงเหลืองส้ม กลิ่นหอม รสหวานมีเส้นใยมาก
            ราชพฤกษ์หรือคูณเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูง 10-20 เมตร ดอกขึ้นเป็นช่อยาว 20-40 เซนติเมตร แต่ละดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-7 เซนติเมตร มีกลีบดอกสีเหลืองขนาดเท่ากัน 5 กลีบ ผลยาว 30-62 เซนติเมตร และกว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร มีกลิ่นฉุน และมีเมล็ดที่มีพิษเป็นจำนวนมา
(ที่มา: http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=8888)
การทดลองเรื่องคุณภาพของถ่านไม้เพื่อให้ทราบถึงคุณภาพของถ่านไม้แต่ละชนิดว่าชนิดใดที่ให้ปริมาณความร้อนมากกว่ากัน เพื่อที่จะได้เลือกใช้ถ่านให้เหมาะสมกับงานที่จะใช้และสร้างความปลอดภัยในการประกอบอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันได้มีการนำไม้หลายชนิดมาทำเป็นถ่าน
วัตถุประสงค์
การศึกษาเรื่องการศึกษาคุณภาพของถ่านจากวัสดุธรรมชาติครั้งนี้ กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้
            1.เพื่อศึกษาคุณภาพของถ่านจากไม้หลายๆชนิด ว่าถ่านชนิดไหนให้ความร้อนได้ดีกว่า
            ขอบเขตของการศึกษา
            ด้านระยะเวลา
            3 สิงหาคม – 30 กันยายน รวมระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าและทดลองทั้งหมด59วัน
            ด้านเนื้อหา
            ในการศึกษาทดลองโครงงานนี้มุ่งศึกษาคุณภาพของถ่านไม้ต่างชนิดเพื่อเปรียบเที่ยบว่าถ่านจากไม้ชนิดใดให้ความร้อนได้ดีกว่า
            ผลที่คาดว่าจะได้รับ
            1.ได้ทราบว่าถ่านชนิดใดให้ความร้อนได้ดีกว่ากัน
            2.เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกใช้ถ่านอย่างมีประสิทธิ์ภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด